วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ต้นสมพง


มหัศจรรย์...ต้นสมพง
(AMAZING SOMPONG TREE)

ชื่อท้องถิ่น           :    กะปุง  กะพง งุ้น             
ชื่อสามัญ             :    สมพง
ชื่อวิทยาศาสตร์   :    Tetrameles nudiflora R.Br.        
ชื่อวงศ์                :    TETRAMELACEAE

การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ

สมพงเป็นพันธุ์ไม้ที่พบขึ้นอยู่ตามป่าดงดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ จะผลัดใบหมดก่อนออกดอก

ลักษณะทั่วไป
สมพงเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มาก สูงประมาณ 20-40  เมตร เป็นไม้ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง โคนเป็นพูพอนขนาดใหญ่ อาจสูงถึงประมาณ 2 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกสีเทาอมชมพู เรียบเป็นมัน หนามาก เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพูไม่มีแก่น กิ่งอ่อนมีรอยแผลใบปรากฏชัด  


ใบ  ลักษณะป้อม รูปหัวใจ หรือรูปข้อเหลี่ยมกลายๆ ขนาด 910 x 9-12 ซม. โคนใบกว้างและหยักเว้า 3 แฉก ขอบหยักถี่ๆ เนื้อค่อนข้างบาง หลังใบมีขนสาก หลังใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ท้องใบมีขนนุ่ม

ดอก  สีเขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง ช่อดอกมีแขนงมาก กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 4 แฉก เกสรผู้มี 4 อัน อยู่ตรงข้ามกับแฉก ดอกเพศเมียออกเป็นช่อยาวๆ ตามปลายกิ่ง ห้อยย้อยลงไม่แตกแขนง ช่อดอกยาว 15-30 ซม. กลีบรองกลีบดอกมี 4 กลีบ ไม่มีกลีบดอก รังไข่มี 1 ช่อง และมีไข่อ่อนมาก ออกดอกระหว่าง เดือนธันวาคม ถึงมกราคม และเป็นผลระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์-มีนาคม

ผล  มีขนาดเล็ก ผิวแข็ง ปลายผลยังคงมีกลีบรองกลีบดอกปรากฏอยู่ เมื่อแก่จัดตอนปลายจะแตกออกจากกัน

การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ไม้สมพง เพื่อการผลิตกล้าไม้ที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นการขยายพันธุ์โดยเมล็ดเท่านั้น  เพราะสามารถผลิตกล้าไม้ได้เป็นจำนวนมาก  ส่วนการขยายพันธุ์โดยวิธีอื่นยังไม่ได้มีการทำกัน

การใช้ประโยชน์ 
ไม้สมพงเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจของประเทศชนิดหนึ่ง  มีการนำมาใช้ประโยชน์กันมาก  โดยมีการนำมาใช้ทำแบบหล่อคอนกรีต  เรือขุด หีบใส่ของ ไม้ขีดไฟ ไม้จิ้มฟัน ไม้ยาง ไม้อัด เยื่อกระดาษ  หีบศพ  เครื่องเรือน และของเด็กเล่น  ทำพื้นรองเสาค้ำ

แหล่งที่มา : http://www.dnp.go.th/Pattani_botany