วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ป่าดิบแล้ง



ป่าดิบแล้ง

(DRY EVERGREEN FOREST)

ที่มา ส่วนพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช(2018)

                   ป่าดิบแล้งมีลักษณะคล้ายกับป่าดิบชื้น เป็นป่าไม่ผลัดใบที่มีไม้ผลัดใบขึ้นแทรก ในพื้นที่ป่าดิบแล้งโดยทั่วไปเป็นบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,000 ถึง 2,000 มิลลิเมตรต่อปี โดยจะมีช่วงแล้งนาน 3-4 เดือน โดยจะมีดินค่อนข้างลึกจึงสามารถเก็บกักน้ำได้ดีพอที่จะทำให้พรรณไม้บางชนิดสามารถคงใบอยู่ได้ตลอดช่วงที่แห้งแล้ง ต้นไม้ชั้นบนสุดคือชั้นเรือนยอดสูง 25-40 เมตร เป็นพรรณไม้ในวงศ์ยาง เช่น ยางแดง กระบาก ตะเคียนหิน พะยอม มะค่าโมง ตะแบกแดง และพะยูง รองลงมาเป็นไม้พวกที่มีเรือนยอดสูง 10-20 เมตร เช่น ตะคร้ำ กรวย ข้าวสารหลวง พลองใบเล็ก และกระเบากลัก และชั้นล่างเป็นไม้พุ่มที่สูงไม่เกิน 5 เมตร เช่น เข็มขาว และหัสคุณ และตามพื้นจะมีขิงข่ามากมาย เป็นแหล่งของเถาวัลย์หลายชนิดโดยเฉพาะหวาย
                   ป่าดิบแล้งจะพบอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ตามที่ราบเชิงเขา ไหล่เขาและหุบเขา มักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร จนถึงพื้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 950 เมตร

ระบบนิเวศของป่าดิบแล้ง
              เนื่องจากป่าดิบแล้งประกอบด้วยพรรณไม้ที่มีความหลากหลายสูงและมีสภาพทางสรีระที่แตกต่าง กันหลายระบบ มีทั้งพืชที่ผลัดใบและไม่ผลัดใบจึงทำให้มีการผลิตอินทรียวัตถุได้ตลอดและมี ส่วนที่คงอยู่ในสังคมค่อนข้างสูงแม้แต่ในช่วงฤดูแล้ง จากการศึกษาของประเทือง และคณะ(1981) ปรากฏว่าไม้หลายชนิดที่มีการหยุดการเจริญเติบโตในบางฤดูกาล เช่น ประดู่ ตะแบก กระท้อนรอก สตีต้น เสลา แคหางค่าง แต่มีพรรณไม้หลายชนิดที่มีการเพิ่มพูนตลอดปี เช่น มะหาด มะเดื่อปล้อง เป็นต้น การศึกษามวลพืชในป่าดงดิบแล้งของสภาวิจัยสิ่งแวดล้อม 538.53 ตันต่อเฮกแตร์ ซึ่งเมื่อเปลี่ยนเป็นน้ำหนักแห้งได้ 232.87 ตันต่อ    เฮกแตร์ จากค่านี้เป็นมวลพฤกษ์ เมื่อเป็นไม้ใหญ่ซึ่งส่วนที่สดอยู่ในระดับสูงส่วนที่ หล่นลงพื้นที่จะเป็นอาหารแก่สัตว์ได้คงมีเฉพาะดอกและผลเท่านั้น จึงมักเป็นประโยชน์เฉพาะสัตว์ป่าที่อาศัยหากินอยู่บนเรือนยอดไม้และนกเป็น ส่วนใหญ่

              โดยแท้จริงแล้วมวลชีวภาพของป่าดิบแล้งในระดับชั้นรองนับว่ามีบทบาทสำคัญไม่น้อย ทั้งนี้เนื่องจากมีพรรณไม้หลายชนิดในชั้นนี้ที่มีผลและใบอ่อนเป็นอาหารของสัตว์ป่าได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะมะไฟ มะม่วงป่า ยางโอน คอแลน พลอง กัดลิ้น ค้างคาว และลำไยป่า เป็นต้น มวลพฤกษ์ในระดับชั้นนี้ยังไม่มีรายงานที่เป็นเอกสารทางวิชาการปรากฏในปัจจุบัน

               มวลพฤกษ์บนพื้นป่ามีความแปรผันไปตามช่องว่างที่เกิดขึ้นในป่าซึ่งปรากฏอยู่ มาก อย่างไรก็ตามภายใต้เรือนยอดในช่วงฤดูแล้งก็ได้รับแสงค่อนข้างสูงมากกว่าป่า ดงดิบชื้นโดยทั่วไป ฉะนั้นในช่วงต้นฤดูฝน ซึ่งใบไม้ชั้นบนยังไม่ผลิเต็มที่พืชชั้นคลุมผิวดินหลาย ชนิดก็เริ่มแตกหน่อและใบอ่อนก่อนมวลพฤกษ์ส่วนนี้เป็นผลผลิตสดที่มีการถ่าย ทอดพลังงานและสารไปสู่สัตว์ป่าได้มาก นอกจากนี้เถาวัลย์และพืชหัว   ต่าง ๆ ก็เป็นส่วนสำคัญที่เพิ่มปริมาณอาหารให้แก่สัตว์ป่า

              โดยทั่วไปป่าดิบแล้งมีระบบนิเวศที่ค่อนข้างมีการหมุนเวียนของธาตุอาหารและการหลั่งไหลของพลังงานรวดเร็ว สภาพภูมิอากาศที่มีช่วงชื้นหลายเดือนทำให้การทำงานของแบคทีเรียและเชื้อราต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใบและกิ่งก้านขนาดเล็กที่พืชปลดปล่อยลงมาส่วนใหญ่สลายหมดไปได้ภายในปีเดียว กิ่งขนาดใหญ่และลำต้นที่ล้มทอดอยู่ในป่ามักเริ่มการสลายด้วยแมลง ปลวก และสัตว์กัดแทะ เห็ดชนิดต่าง ๆ เข้ามาอาศัยทำลายให้ย่อยสลายเล็กลงและหมดไปหากเป็นไม้ที่มีโครงสร้างที่ไม่แข็งเกินไปก็จะสลายหมดไปได้ในเวลาไม่เกิน ปี สารต่าง ๆ ก็ถูกคืนลงสู่ดินและหมุนเวียนกลับไปสู่พืช ป่ามีลักษณะสมบูรณ์มีการสูญเสียธาตุอาหารไปกับการถูกกัดชะและละลายไปกับน้ำค่อนข้างน้อย ทั้งนี้เนื่องจากความแน่นทึบของพืชปกคลุมดินและรากที่ประสานกันแน่น แต่ถ้าหากป่าถูกทำลายลงการสูญเสียธาตุอาหารในดินมักเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งนี้เนื่องจากฝนที่มักตกอย่างรุนแรงเป็นระยะ ๆ การผุสลายของหินในป่าเป็นแหล่งเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินทางหนึ่ง ผนวกกับที่ได้จากธาตุอาหารในส่วนที่สะสมอยู่ในดินชั้นล่าง ปริมาณที่ได้นี้อาจมากพอที่จะจัดการป่าชนิดนี้ในเชิงเศรษฐกิจบางประการได้แต่ต้องทำตามหลักวิชากา





แหล่งที่มา :