วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

น้ำตกธารสวรรค์



น้ำตกธารสวรรค์
(THAN SAWAN WATERFALL)



น้ำตกธารสวรรค์ อีกหนึ่งจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
น้ำตกธารสวรรค์ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง ตำบลบ้านมาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา เป็นน้ำตกหินปูนขนาดกลางที่เกิดจากลำห้วยสองสบ ห้วยโป่ง ห้วยอูน และตาน้ำบ่อเบี้ย ไหลลงมารวมกันเป็นห้วยแม่ปั๋ง และตกจากหน้าผาลงมาเป็นน้ำตกธารสวรรค์ น้ำจากน้ำตกไหลผ่านหมู่บ้านที่ตั้งอยู่โดยรอบอุทยานฯ ทำให้ชาวบ้านมีน้ำทำการเกษตร อุปโภค-บริโภค และไหลลงไปสู่แม่น้ำยม ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศ น้ำตกธารสวรรค์ เป็นน้ำตกหินปูนขนาดกลาง ซึ่งน้ำตกหินปูนเกิดจากสภาพทางธรณีวิทยาของเทือกเขาในพื้นที่นั้นๆ ที่เป็นเทือกเขาหินปูน เมื่อสายน้ำไหลผ่าน จะละลายหินปูนมาด้วย เพราะน้ำมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ



น้ำตกสีเขียวเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นได้เพราะน้ำตกไหลผ่านหินปูนเท่านั้น เนื่องจากน้ำมีกรดอ่อนๆ สามารถละลายหินปูนได้ เมื่อไหลสะสมอยู่ในแอ่งน้ำหินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนตที่ละลายอยู่ในน้ำ รวมทั้งแร่ธาตุบางชนิดที่ปะปนอยู่ด้วย จะส่งผลให้สาหร่ายหรือตะไคร้น้ำสีเขียวขนาดเล็ก ที่เจริญเติบโตในลำธารทั่วไป ไม่สามรถแพร่ขยายพันธุ์ได้ เพราะความเป็นกรดของน้ำ ที่ทำให้ละลายหินปูนได้ จึงทำให้หินปูนอยู่ในสภาพที่อ่อนนุ่มไม่ยึดเกาะตัวแน่นแข็งเหมือนหินทั่วไป สังเกตเห็นได้ง่าย เวลาสัมผัสหรือกดดูจะยุบตัวลงเมื่ออยู่ในแอ่งน้ำนานๆ อาจจะพังทลายลงได้

                   น้ำตกธารสวรรค์  เป็นน้ำตกหินปูนขนาดกลางที่เกิดจากลำห้วยสองสบ ห้วยโป่ง ห้วยอูน และตาน้ำบ่อเบี้ย ไหลลงมารวมกันเป็นห้วยแม่ปั๋ง และตกจากหน้าผาลงมาเป็นน้ำตกธารสวรรค์ น้ำตกหินปูนเกิดจากสภาพทางธรณีวิทยาของเทือกเขาในพื้นที่นั้น ๆ ที่เป็นเทือกเขาหินปูน เมื่อสายน้ำไหลผ่าน จะละลายหินปูนมาด้วย เพราะน้ำมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ
น้ำตกธารสวรรค์ เป็นน้ำตก 2 ชั้น ชั้นที่ 1 สูง 3 เมตร ลึก 4 เมตร กว้าง 20 เมตร ชั้นที่ 2 สูง 10 เมตร ลึก 6 เมตร กว้าง 40 เมตรน้ำมีสีเขียวมรกต บริเวณโดยรอบครอบคลุมด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ เป็นพรรณไม้ในป่าดิบแล้ง มีน้ำไหลตลอดปี มีประโยชน์ ทำให้ชาวบ้านมีน้ำทำการเกษตร เป็นแนวกันไฟธรรมชาติให้กับที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง น้ำตกธารสวรรค์ไหลลงไปสู่แม่น้ำยม ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศ
ภาพโดย KruTom


ป่าดิบแล้ง



ป่าดิบแล้ง

(DRY EVERGREEN FOREST)

ที่มา ส่วนพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช(2018)

                   ป่าดิบแล้งมีลักษณะคล้ายกับป่าดิบชื้น เป็นป่าไม่ผลัดใบที่มีไม้ผลัดใบขึ้นแทรก ในพื้นที่ป่าดิบแล้งโดยทั่วไปเป็นบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,000 ถึง 2,000 มิลลิเมตรต่อปี โดยจะมีช่วงแล้งนาน 3-4 เดือน โดยจะมีดินค่อนข้างลึกจึงสามารถเก็บกักน้ำได้ดีพอที่จะทำให้พรรณไม้บางชนิดสามารถคงใบอยู่ได้ตลอดช่วงที่แห้งแล้ง ต้นไม้ชั้นบนสุดคือชั้นเรือนยอดสูง 25-40 เมตร เป็นพรรณไม้ในวงศ์ยาง เช่น ยางแดง กระบาก ตะเคียนหิน พะยอม มะค่าโมง ตะแบกแดง และพะยูง รองลงมาเป็นไม้พวกที่มีเรือนยอดสูง 10-20 เมตร เช่น ตะคร้ำ กรวย ข้าวสารหลวง พลองใบเล็ก และกระเบากลัก และชั้นล่างเป็นไม้พุ่มที่สูงไม่เกิน 5 เมตร เช่น เข็มขาว และหัสคุณ และตามพื้นจะมีขิงข่ามากมาย เป็นแหล่งของเถาวัลย์หลายชนิดโดยเฉพาะหวาย
                   ป่าดิบแล้งจะพบอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ตามที่ราบเชิงเขา ไหล่เขาและหุบเขา มักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร จนถึงพื้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 950 เมตร

ระบบนิเวศของป่าดิบแล้ง
              เนื่องจากป่าดิบแล้งประกอบด้วยพรรณไม้ที่มีความหลากหลายสูงและมีสภาพทางสรีระที่แตกต่าง กันหลายระบบ มีทั้งพืชที่ผลัดใบและไม่ผลัดใบจึงทำให้มีการผลิตอินทรียวัตถุได้ตลอดและมี ส่วนที่คงอยู่ในสังคมค่อนข้างสูงแม้แต่ในช่วงฤดูแล้ง จากการศึกษาของประเทือง และคณะ(1981) ปรากฏว่าไม้หลายชนิดที่มีการหยุดการเจริญเติบโตในบางฤดูกาล เช่น ประดู่ ตะแบก กระท้อนรอก สตีต้น เสลา แคหางค่าง แต่มีพรรณไม้หลายชนิดที่มีการเพิ่มพูนตลอดปี เช่น มะหาด มะเดื่อปล้อง เป็นต้น การศึกษามวลพืชในป่าดงดิบแล้งของสภาวิจัยสิ่งแวดล้อม 538.53 ตันต่อเฮกแตร์ ซึ่งเมื่อเปลี่ยนเป็นน้ำหนักแห้งได้ 232.87 ตันต่อ    เฮกแตร์ จากค่านี้เป็นมวลพฤกษ์ เมื่อเป็นไม้ใหญ่ซึ่งส่วนที่สดอยู่ในระดับสูงส่วนที่ หล่นลงพื้นที่จะเป็นอาหารแก่สัตว์ได้คงมีเฉพาะดอกและผลเท่านั้น จึงมักเป็นประโยชน์เฉพาะสัตว์ป่าที่อาศัยหากินอยู่บนเรือนยอดไม้และนกเป็น ส่วนใหญ่

              โดยแท้จริงแล้วมวลชีวภาพของป่าดิบแล้งในระดับชั้นรองนับว่ามีบทบาทสำคัญไม่น้อย ทั้งนี้เนื่องจากมีพรรณไม้หลายชนิดในชั้นนี้ที่มีผลและใบอ่อนเป็นอาหารของสัตว์ป่าได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะมะไฟ มะม่วงป่า ยางโอน คอแลน พลอง กัดลิ้น ค้างคาว และลำไยป่า เป็นต้น มวลพฤกษ์ในระดับชั้นนี้ยังไม่มีรายงานที่เป็นเอกสารทางวิชาการปรากฏในปัจจุบัน

               มวลพฤกษ์บนพื้นป่ามีความแปรผันไปตามช่องว่างที่เกิดขึ้นในป่าซึ่งปรากฏอยู่ มาก อย่างไรก็ตามภายใต้เรือนยอดในช่วงฤดูแล้งก็ได้รับแสงค่อนข้างสูงมากกว่าป่า ดงดิบชื้นโดยทั่วไป ฉะนั้นในช่วงต้นฤดูฝน ซึ่งใบไม้ชั้นบนยังไม่ผลิเต็มที่พืชชั้นคลุมผิวดินหลาย ชนิดก็เริ่มแตกหน่อและใบอ่อนก่อนมวลพฤกษ์ส่วนนี้เป็นผลผลิตสดที่มีการถ่าย ทอดพลังงานและสารไปสู่สัตว์ป่าได้มาก นอกจากนี้เถาวัลย์และพืชหัว   ต่าง ๆ ก็เป็นส่วนสำคัญที่เพิ่มปริมาณอาหารให้แก่สัตว์ป่า

              โดยทั่วไปป่าดิบแล้งมีระบบนิเวศที่ค่อนข้างมีการหมุนเวียนของธาตุอาหารและการหลั่งไหลของพลังงานรวดเร็ว สภาพภูมิอากาศที่มีช่วงชื้นหลายเดือนทำให้การทำงานของแบคทีเรียและเชื้อราต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใบและกิ่งก้านขนาดเล็กที่พืชปลดปล่อยลงมาส่วนใหญ่สลายหมดไปได้ภายในปีเดียว กิ่งขนาดใหญ่และลำต้นที่ล้มทอดอยู่ในป่ามักเริ่มการสลายด้วยแมลง ปลวก และสัตว์กัดแทะ เห็ดชนิดต่าง ๆ เข้ามาอาศัยทำลายให้ย่อยสลายเล็กลงและหมดไปหากเป็นไม้ที่มีโครงสร้างที่ไม่แข็งเกินไปก็จะสลายหมดไปได้ในเวลาไม่เกิน ปี สารต่าง ๆ ก็ถูกคืนลงสู่ดินและหมุนเวียนกลับไปสู่พืช ป่ามีลักษณะสมบูรณ์มีการสูญเสียธาตุอาหารไปกับการถูกกัดชะและละลายไปกับน้ำค่อนข้างน้อย ทั้งนี้เนื่องจากความแน่นทึบของพืชปกคลุมดินและรากที่ประสานกันแน่น แต่ถ้าหากป่าถูกทำลายลงการสูญเสียธาตุอาหารในดินมักเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งนี้เนื่องจากฝนที่มักตกอย่างรุนแรงเป็นระยะ ๆ การผุสลายของหินในป่าเป็นแหล่งเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินทางหนึ่ง ผนวกกับที่ได้จากธาตุอาหารในส่วนที่สะสมอยู่ในดินชั้นล่าง ปริมาณที่ได้นี้อาจมากพอที่จะจัดการป่าชนิดนี้ในเชิงเศรษฐกิจบางประการได้แต่ต้องทำตามหลักวิชากา





แหล่งที่มา : 


ต้นพระเจ้าห้าพระองค์



พระเจ้าห้าพระองค์
(PRA JAO HAR PRA ONG)

ชื่อท้องถิ่น         :  กะโค โก ซังกวน ตะกู ตะโก แสนตาล้อม
ชื่อสามัญ           :  พระเจ้าห้าพระองค์
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Dracontomelon  mangiferum Blume.
ชื่อวงศ์               :   ANACARDIACEAE
สถานภาพ         :  ไม้หวงห้ามธรรมดา ประเภท ก พืชหายาก

นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
      ในประเทศพบขึ้นมาบริเวณริมห้วยในป่าดงดิบทั่ว ๆ ไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200-500 เมตร ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในต่างประเทศ  ตะวันออกอินเดีย หมู่เกาะอันดามัน พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ คาบสมุทรมาเลย์ พบตั้งแต่มาเลเซียถึงนิวกินี และหมู่เกาะโลโลมอน

ลักษณะทั่วไป
      เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูงประมาณ 20 - 40 เมตร ลำต้นเปราตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง เปลือกเรียบสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลปนเทา




ใบ รูปไข่แบบใบย่อย 12 - 20 คู่ ยาว 4.5 - 20 ซม. และกว้าง 2.5 - 10 ซม.


ดอก เล็กสีขาวอมเขียว ช่อใหญ่เรียวยาว กลีบดอกและกลีบรองดอกอย่างละ 5 กลีบ ผล เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางผล 4-5 เซนติเมตร


เมล็ด แข็ง มี 5 พู มีรอยบุ๋ม 5 รอยคล้ายรูปพระ 5 องค์ จึงนิยมไปบูชาเป็นพระเจ้าห้าพระองค์ ระยะเวลาการออกดอกและผล 
ออกดอก มกราคม-กุมภาพันธ์ ผลแก่  เมษายน-ตุลาคม


การใช้ประโยชน์ไม้พระเจ้าห้าพระองค์
      มีคุณค่าทางยาและรักษาโรค เปลือกใช้เป็นยาแก้โรคบิด แก้ไข้ แก้ปวดท้อง ยางทำให้แผลแห้งเร็ว เนื้อเมล็ดกินได้ เนื้อไม้ทำไม้แบบในการก่อสร้างและไม้อัดต้นพระเจ้า 5 พระองค์ เป็นไม้ศิริมงคล ใช้ใบ ดอก และผล ประกอบพิธีกรรมสำคัญต่างๆ ของคนโบราณทั้งไทย ลาว พม่า  เขมร และจีน ซึ่งมีความเชื่อตรงกันว่า มีเทพต่างๆ สิงสถิตคอยปกปักรักษาให้คนหรือสัตว์ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน มีความเมตตาช่วยเหลือกัน ให้รู้จักรักษาความรักความดีต่อกัน รู้จักรักพวกพ้อง และถิ่นกำเนิด  หากเดินทางไกลก็แคล้วคลาด
      พระเจ้าห้าพระองค์มีวิถีความเชื่อท้องถิ่น ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น พระครูศรีวรพินิจ รองเจ้าคณะจังหวัดพะเยา วัดศรีโคมคัม กล่าวว่าเป็นเรื่องการกำเนิดพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ในภัทรกัลป์ โดยเกิดจากไข่กาเผือก 5 ฟอง (จากนิทานพระยากาเผือก) มีไก่ นาค เต่า โค และสิงห์นำไปเลี้ยง พระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ คือ
1. ไก่.....นำไข่ไปฟักออกมาเป็น....พระกุกสันธะ
2. นาค...นำไข่ไปฟักออกมาเป็น....พระโกนาคมมน์
3. เต่า....นำไข่ไปฟักออกมาเป็น....พระกัสสป
4. โค.....นำไข่ไปฟักออกมาเป็น....พระสบมณโคดม
5. สิงห์...นำไข่ไปฟักออกมาเป็น....พระศรีอาริยาเมตไตร
#พระครูปัปุณพัฒนกิจ กล่าวว่าคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ เป็นคาถาเรียกกำลัง คือ คำว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” มีพุทธคุณที่โดดเด่นทางเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน มีโชคลาภ และโภคทรัพย์ อุดมสมบูรณ์ เสริมสิริมงคล และขจัดความชั่วร้าย ทำให้แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง


แหล่งที่มา : http://www.thaikasetsart.com