วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ไผ่ : พืชพลังงานแห่งอนาคต?






ไผ่ : พืชพลังงานแห่งอนาคต?

ไผ่ เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลใน วงศ์หญ้า (วงศ์ Poaceae; เดิมคือวงศ์ Gramineae) วงศ์ย่อย Bambusoideae เป็นไม้ไม่ผลัดใบใน ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้องๆ เช่น ไผ่จีน (Arundinaria suberecta Munro) ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea Willd.) ไผ่สีสุก (B. flexuosa Munro และ B. blumeana Schult.) ไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata Munro) ไผ่ดำ (Phyllostachys nigra Munro)

ที่มา https://www.nanagarden.com/product/223967  

ผลผลิตจากไผ่ ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น
ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้
1.  ไผ่ข้าวหลาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum pergracile )
2.  ไผ่คายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa compressa)
3.  ไผ่โจด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arundinaria cililta)
4.  ไผ่ซาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus strictus)
5.  ไผ่ซางคำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus latiflorus)
6.  ไผ่ซางนวล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus membranaceus)
7.  ไผ่ซางหม่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus sericeus )
8.  ไผ่ตง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus aspe)
9.  ไผ่ตากวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa kurzii)
10.  ไผ่บง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa nutans)
11.  ไผ่บงคาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa hosseusii)
12.  ไผ่บงดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa tulda)
13.  ไผ่บงป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispatha)
14.  ไผ่บงหนาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa burmanica)
15.  ไผ่ป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa bambos)
16.  ไผ่เป๊าะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus giganteus)
17.  ไผ่ผาก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa densa)
18.  ไผ่เพ็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vietnamosasa pusilla)
19.  ไผ่รวก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys siamensis)
20.  ไผ่รวกดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys oliveri)
21.  ไผ่ไร่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa albociliata)
22.  ไผ่ลำมะลอก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispiculatar)
23.  ไผ่เลี้ยง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa mulfiplex)
24.  ไผ่หวาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa sp.)
25.  ไผ่สีสุก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa blumeana)
26.  ไผ่หก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus hamiltonii)
27.  ไผ่หลอด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neohouzeaua mekongensis)
28.  ไผ่หอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa polymorpha)
29.  ไผ่เหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa vulgaris)
30.  ไผ่เฮียะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum virgatum)

นิเวศวิทยาและการกระจายพันธ์
                พบตามป่าผสมผลัดใบ และที่รกร้างในป่าดิบแล้ง ไม้ไผ่ถือเป็นพืชเมืองร้อน (tropics) แต่ก็สามารถเจริญเติบโตได้ทุกทวีป ไม้ไผ่หลายสกุลพบมากที่สุดในเขตร้อนทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของเอเซีย จากอินเดีย ไทย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มีน้อยสกุลพบในเขตอบอุ่น (temperates) ของโลกบางส่วนของทวีปอเมริกาก็พบมาก ในบางประเทศแถบอเมริกาใต้ เช่น เปอโตริโก ชิลี อาเยนติน่า และก็มี 2-3 ชนิดที่พบในออสเตรเลีย

ที่มา อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง

การใช้ประโยชน์   
อาหาร,ที่อยู่อาศัย,เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย,ลำใช้ทำไม้ค้าง สำหรับเพืชเกษตร ด้ามเครื่องมือ เยื่อกระดาษ หน่อรับประทานได้
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   ให้ความร่มรื่น
-   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
-   ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
-   ใช้เป็นอาหาร
-   ใช้ทำที่พักอาศัย

ที่มา  maneerat surisa 13 17

ที่มา  ตำรับอาหารไทย


            หน่อไผ่ เป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือกว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น

ที่มา  http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&view=showone&Itemid=59&id=382