วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ปลวกผู้ย่อยสลาย




ปลวก...ผู้ย่อยสลาย
ปลวก      :   (Termites)
ชื่อสามัญ  ปลวก
วงศ์          Rhinotermitidae, Termitidae, Kalotermitidae

ลักษณะทั่วไป
      ปลวก เป็นแมลงที่อยู่กันเป็นกลุ่ม มีสังคมต่าง ๆ แบ่งเป็นวรรณะได้แก่ ปลวกงาน ปลวกทหาร ปลวก สืบพันธุ์ กลุ่มที่นำแยกชนิดได้มักจะใช้ปลวกทหาร หรือปลวกสืบพันธุ์ ซึ่งมีลักษณะที่บอกถึงความแตกต่างของปลวกแต่ละชนิด ปลวกทหาร: หัวและหนวดสีเหลือง เขี้ยวหรือฟันส่วนที่เป็นคีม สีน้ำตาลแดง บริเวณโคนฟันเหลืองน้ำตาล ส่วนหัวมีต่อมที่เป็นรูเห็นได้ชัด 1 รู เรียก frontal grand เมื่อถูกรบกวนจะปล่อยน้ำสีขาวขุ่นออกมา ปลวกทหารมีอยู่ปริมาณ 12% ของปลวกในรัง ปลวกสืบพันธุ์: ตัวเล็กสีน้ำตาลดำ ปีกสีเงิน ว่องไว



ความสำคัญ
      ปลวกมีบทบาทสำคัญในการช่วยย่อยสลายไม้ เศษไม้ และวัตถุอื่น ๆ เพื่อนำแร่ธาตุหมุนเวียนกลับสู่ระบบนิเวศ และเมื่อแปลงร่างเป็นแมลงเม่าก็ยังเป็นอาหารทรงคุณค่าทั้งต่อนกและสัตว์ต่าง ๆ

ลักษณะนิสัย
      ปลวกมี 2 จำพวก คือพวกที่ต้องการความชื้นสูงจะทำลายไม้ที่มีความชื้น และปลวกที่ต้องการความชื้นน้อยกว่าจะทำลายไม้แห้ง ปลวกทำลายไม้ที่มีความชื้นจะทำลายไม้ที่ล้มขอนนอนตามพื้นดินหรือไม้ตามบ้านเรือนที่มีความชื้น ในป่าไม้ ปลวกที่ต้องการความชื้นจะกัดกินรากและลำต้นโดยปลวกบางชนิดทำ รังส่วนหนึ่งอยู่เหนือพื้นดิน ส่วนหนึ่งอยู่ใต้ดิน ส่วนที่อยู่ใต้ดินลึกประมาณ 30-60 ซม. และเป็นทางยาว ถึง 90 เมตร รังที่อยู่ตามต้นไม้เห็นเป็นดินพอกที่ลำต้นบางต้นสูง 4 เมตร ดินที่พอกต้นไม้ทำหน้าที่ป้องกันแสงแดดและรักษาความชื้นให้กับปลวก และยังป้องกันภัยจากแมลงอื่นด้วย

      ปลวกมีลำตัวนิ่ม ผิวบาง เมื่อสัมผัสอากาศผิวจะแห้งได้ง่าย ปลวกจึงต้องมีรังปกคลุมมิดชิดหรือดินพอกทางเดินเพื่อรักษาความชื้นให้สูงไว้เสมอ ดังนั้นในสภาวะที่แห้งแล้งปลวกจึงชอบต้นไม้ที่มีชีวิตเพราะมีความชื้นมากกว่าไม้ที่ล้มขอนอยู่
ที่มา :  www.pinterest.com


พืชอาหาร

      ยูคาลิปตัส (Eucalyptus spp.) สัก (Tectona grandis Linn.f.) กระถินเทพา (Acacia mangium Willd.) สนเขา (Pinus spp.) สนฉัตร (Araucaria excelsa R.Br.) เต็ง (Shorea obtusa Wall.) รัง (Shores siamensis Miq.) ซ้อ (Gmelina arborea Roxb.) ยางพารา (Hevea brasiliensis Muell.) และไม้อื่นๆ อีกจำนวนมาก
ที่มา อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง

การป้องกันกำจัด
     ในที่ที่พบว่าปลวกทำลายต้นไม้อยู่เดิม ควรทำการป้องกันก่อนปลูกพืชโดยเก็บซากพืชและเศษไม้ออกจากแปลง ใช้สารเคมีโรยรอบโคนต้นไม้ในสวนป่าหรือผสมน้ำราดตามที่ปลวกอาศัยอยู่แล้วแต่ความเหมาะสม สารเคมีทั่วไปที่ใช้ทั้งป้องกันและกำจัดได้เช่น ฟูราดาน คลอร์ไพริฟอส หรือ เดอร์สแบน ลอร์สแบน ดาวโก 179 และเลนเทร็ด 400 เป็นต้น สารเคมีที่กล่าวข้างต้นมีฤทธิ์ตกค้างนานยกเว้นฟูราดาน ซึ่งมีฤทธิ์ตกค้างเพียง 45 วัน สารเคมีเหล่านี้สามารถใช้รองก้นหลุมก่อนปลูกได้ หรือใช้ฟูราดานใส่ในถุงกล้าไม้ก่อนนำไปปลูกจะป้องกันได้ดีที่สุด และยังสามารถกำจัดหนอนของด้วงที่กัดกินรากสักได้อีกด้วย

     ใช้สารเคมีโรยรอบโคนต้นไม้ในสวนป่าหรือผสมน้ำราดตามที่ปลวกอาศัยอยู่แล้วแต่ความเหมาะสม สารเคมีทั่วไปที่ใช้ทั้งป้องกันและกำจัดได้เช่น ฟูราดาน คลอร์ไพริฟอส หรือ เดอร์สแบน ลอร์สแบน ดาวโก 179 และเลนเทร็ด 400 เป็นต้น สารเคมีที่กล่าวข้างต้นมีฤทธิ์ตกค้างนานยกเว้นฟูราดานซึ่งมีฤทธิ์ตกค้างเพียง 45 วัน สารเคมีเหล่านี้สามารถใช้รองก้นหลุมก่อนปลูกได้ และยังสามารถกำจัดหนอนของด้วงที่กัดกินรากสักได้ด้วยปัจจุบันสารเคมีจำพวกไพรีทรอยด์สามารถกำจัดปลวกได้ด้วยเช่นกันแต่มีฤทธิ์ตกค้างสั้นแต่มีความปลอดภัยกว่าสารที่กล่าวมาข้างต้น จึงนิยมใช้กับไม้ตามบ้านเรือน

          www.rentokil.co.th