วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ต้นไทร


ต้นไทร
(BANYAN TREE)
ชื่อท้องถิ่น               :    ไฮ
ชื่อสามัญ                 :    ไทร
ชื่อวิทยาศาสตร์       :    Ficus  annulata Bl.
ชื่อวงศ์                     :    MORACEAE

ลักษณะทั่วไป
ต้น  เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร  ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา


ใบ  เป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีแตกต่างกันตามพันธุ์


ฝัก/ผล  แบบมะเดื่อ 1.8 - 3 ซม. ออกเป็นคู่ในซอกใบ รูปไข่ สีเหลืองอมส้มหรือเหลืองอมชมพู มักจะมีจุดสีครีม ก้านผล 1 - 1.5 ซม. อ้วนสั้น ด้านบนมีวงแหวนนูน ด้านล่างและกาบใบรูปสามเหลี่ยมแคบขนาด 4 - 7 ม.ม. 3 กาบ ที่ยอดผล

สรรพคุณ
ตำรายาไทยใช้ รากอากาศ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอย หรือขุ่นข้น สีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) แก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ปวดเมื่อย)

บทบาทในระบบนิเวศ
ไทร ถูกจัดให้เป็น Keystone species ( สิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญ ) ประเภท Keystone food resource เพราะ ไทรเป็นไม้ที่สำคัญต่อสัตว์หลาย ๆ ชนิดในป่า เนื่องจาก สามารถออกผลได้ปีละหลายครั้ง ไทรต่างชนิดกันก็ออกผลคนละช่วงกัน ดังนั้นจึงทำให้ไทรเป็นแหล่งอาหารให้กับสัตว์ป่าได้ตลอดทั้งปี และกลายเป็นแหล่งอาหารหลักของสัตว์ป่าหลายชนิดทั้งที่เป็นสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ และทั้งสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ ในป่าบางพื้นที่ มากกว่า 70% ของสัตว์ป่าทั้งหมดกินลูกไทรเป็นอาหาร และไทรยังเป็นตัวบอกถึงจำนวน สัตว์ผู้ล่า สัตว์กินผลไม้เป็นอาหารอย่างคร่าว ๆ ได้อีกด้วย
ไทรทำหน้าที่เป็นผู้คัดเลือกต้นไม้ที่มีลักษณะไม่ดีออกจากระบบนิเวศ โดยการเติบโตบนต้นไม้นั้นและโอบรัดจนตาย เมื่อทรงพุ่มไทรใหญ่ขึ้น ลำต้นไม่อาจแบกรับน้ำหนักไหว ทำให้ต้องโค่นลง ก่อให้เกิดพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ในป่าทึบขึ้น เปิดโอกาสให้ต้นไม้ชนิดใหม่ ๆ งอกขึ้นบนพื้นที่นั้น ๆ