วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

นกยูงไทย



นกยูงไทย
(GREEN PEAFOWL)
              
      นกยูง เป็นสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์เดียวกันนี้ มีจุดเด่นคือ เพศผู้มีขนหางยาวที่มีสีสันสวยงาม ที่เมื่อแผ่ขยายออกเพื่ออวดเพศเมียจะมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ที่เรียกว่า "รำแพน"  นกยูงใช้ชื่อสกุลว่า Pavo ชอบอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบผสมตามริมลำธารในป่า มีพฤติกรรมมักร้องตอนเช้าหรือพลบค่ำ กินอาหารจำพวกเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางเหนือของประเทศอินเดียไปทางทิศตะวันออกผ่านพม่า, ตอนใต้ของประเทศจีน, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซียและชวา นกยูงแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ                       
      นกยูงอินเดีย (Pavo cristatus) มีหงอนบนหัวแผ่เป็นพัด มีหนังข้างแก้มเป็นสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนเป็นสีน้ำเงิน พบกระจายพันธุ์ในอินเดีย
     นกยูงไทย (Pavo muticus) มีหงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้างแก้มเป็นสีฟ้าและสีเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางเป็นสีเขียว พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคตะวันออกชองอินเดียติดกับพม่า ภูมิภาคอินโดจีน และชวา
ในความเชื่อของชาวล้านนา เชื่อว่า นกยูงเป็นปางหนึ่งของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า



ส่วนหัวของนกยูงไทย (P. muticus)


ส่วนหัวของนกยูงอินเดีย (P. cristatus)

      นกยูงไทย หรือ นกยูงสีเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์: Pavo muticus เป็นไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่พบในป่าเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นญาติใกล้ชิดกับนกยูงอินเดียหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่านกยูงสีฟ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pavo cristatus) ที่ส่วนมากพบในอนุทวีปอินเดีย
      นกยูง (Peacock/Peafowl) จัดเป็นสัตว์ป่าที่อยู่ในวงศ์ไก่ฟ้า คุ้มครองตาม พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และจัดเป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ทั้งนี้ กฎหมายอนุญาตให้เพาะพันธุ์เพื่อการค้าได้ เนื่องจากขนลำตัว และหางมีสีสันสวยงาม และเป็นสัตว์ที่หายาก และเพาะพันธุ์ได้ยาก
อนุกรมวิธาน
Order : Galliformis
Family : Phasianidae
Genus : Pavo
นกยูงที่พบในโลกมีทั้งหมด 2 ชนิด คือ
1. นกยูงอินเดีย (Pavo cristatus Linnaeus)
2. นกยูงไทย (Pavo muticus Linnaeus) แบ่งเป็นชนิดย่อย (Species) ได้แก่
P.m muticus Linnaeus
P.m imperator Delacous
P.m spicifer Shaw & Nodder

สำหรับนกยูงไทยที่พบมี 2 สายพันธุ์ คือ นกยูงไทยสายพันธุ์ชวา (Pavo muticus muticus) และนกยูงไทยสายพันธุ์อินโดจีน (Pavo muticus imperator)

แหล่งที่พบในธรรมชาติ
      สำหรับประเทศไทยพบเพียงนกยูงสายพันธุ์นกยูงไทย (Green Peafowl ; Pavo muticus) โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดพันธุ์ย่อย ได้แก่
          1. นกยูงไทยสายพันธุ์ชวา (Pavo muticus muticus) มีถิ่นกำเนิดที่ชวา และมาเลเซีย พบบริเวณใต้คอคอดลงไปจนถึงใต้สุดประเทศไทย
          2. นกยูงไทยสายพันธุ์อินโดจีน (Pavo muticus imperator) พบบริเวณเหนือคอคอดขึ้นมา มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีนในมณฑลยูนาน พบในประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่าด้านตะวันออก โดยมีการกระจายพันธุ์ไปถึงด้านตะวันตก บริเวณสันปันนํ้าระหว่างแม่นํ้าสาละวิน และอิระวดี  (Delacour, 1984; Johnsgard, 1986)

นกยูงไทย (Green Peafowl ; Pavo muticus)

อาหารนกยูง
      นกยูงไทยเป็นนกที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดของไม้ต้น ธัญพืช ผลไม้สุกที่หล่นจากต้น ยอดอ่อนของหญ้า แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน งู และสัตว์ขนาดเล็ก คุ้ยเขี่ยหากินตามพื้นดินเช่นเดียวกันกับไก่ฟ้า และไก่ป่า (โอภาส, 2541)

      นกยูงอินเดียที่ถูกนำมาเพาะเลี้ยงในกรง จะมีรูปร่างผิดแผกไปจากนกยูงในธรรมชาติบ้าง คือขาจะสั้นลงและลำตัวจะเทอะทะขึ้น นกยูงชนิดนี้ไม่มี ชนิดย่อย แต่จากการเพาะเลี้ยงมาเป็นเวลานาน กว่าร้อยปีในยุโรป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านพันธุกรรม ที่เรียกว่าการผ่าเหล่า (mutation) และเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบถาวร พวกผ่าเหล่ามีอยู่ 3 ชนิด

1. นกยูงขาว (White Peafowl)
ชื่อวิทยาศาสตร์ p.c. mut. albino มีสีขาวตลอดตัว


2. นกยูงด่างหรือแฟนซี (Pied Peafowl)
มีสีปนกันระหว่างนกยูงธรรมดาและนกยูงขาว


3. นกยูงปีกดำ (Black-Winged Peafowl)
ชื่อวิทยาศาสตร์ p.c. mut. Nigripennis
ปีกมีสีเข้มกว่าพันธุ์ธรรมดา และสวยกว่าพันธุ์ธรรมดามาก


นอาศัย
      มีถิ่นกำเนิดในประเทศศรีลังกา และประเทศอินเดีย ซึ่งมีไปทางเหนือถึง ประเทศปากีสถาน บริเวณเทือกเขาหิมาลัยและหุบเขาพรหมบุตร อยู่ตามป่าตั้งแต่ระดับนํ้าทะเล จนถึงระดับความสูง 3,000 ฟุต ชอบหากินตามที่โล่ง ชาวฮินดูนับถือ นกยูงนี้ว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ จึงไม่มีการล่าทำให้มันค่อนข้างเชื่อง จนกล้าหากินใกล้ไร่นาและบ้านคน ตัวผู้จะคุมฝูงตัวเมีย 2-5 ตัว บินเก่งและร้องเสียงดังมาก
การขยายพันธุ์
      ในฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะรำแพนโดยแผ่ขนหางออกเป็นวงกลม เพื่อล่อให้ตัวเมียสนใจ ตัวเมียจะทำรังบนพื้นดินและวางไข่ 4-8 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 27-29 วัน ตัวผู้จะมีขนสวยสมบูรณ์เมื่ออายุ 3 ปี ปกติจะไม่ดุเหมือนนกยูงไทย

แหล่งที่มา : https://www.thefieldanimals.com/content/